หลวงปู่ชา สภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัตะรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา ท้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ลงานที่เป้นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป้นพระธรรมเทศนาและสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วแต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก้ยังคงรักาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่ชาได้รับการศึกาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จงหวัดอุบลราชธานี จบชั้นประถมปีที่ ๑ แล้วได้ลาอกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียนภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสุงสุดสายนักธรรม คือสอบได้นักธรรมชั้นเอก เมื่ออายุ ๑๓ ปีหลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียรุ้บุพกิจเบื้องตนเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้พรรบชาเป็น สามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวราราม อุบลราชธานี เป็นอุปัชาย์สามเณรชา โชิตช่วง ได้อยู่จำพรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยุ่ปฏิบัติคราจารย์ เป็นเวลา ๓ ปี เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสอดมนต์ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเภระ แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัว แบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมบทเป็นพระให้ด้ เมื่อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดและท่านทั้ง ๒ ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อในใกล้บ้าน แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเภระสำคัญทีห้การอุปสมบทดังนี้ พระครูอิทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอย่ ณ วัดก่อนอก ๒ พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมขั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกแห่งนี้