หน้าหลัก

ไม่พบไฟล์ โปรดแจ้งผู้ดูแลระบบ

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพ้นจันทนุมาศ (เจิม) เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ต้นฉบับเป็นสมุดไทย เขียนขี้นในสมัยกรุงธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์ พิมพ์ครั้งแรกในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 เมื่อปี พ.ศ.2479 เนื้อความเริ่มตั้งแต่สถาปนากรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยามาจนกระทั่งกรุงแตก สิ้นสมัยอยุธยา นับเป็นเอกสารหลักเล่มหนึ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งกินเวลาหลายร้อยปี นอกจากพงศาวดารฉบับพ้นจันทนุมาศ (เจิม) ดังกล่าวแล้ว พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่มนี้ ยังรวบรวมเอกสารสำคัญ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยอยุธยา คือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ อันนับเป็นเอกสารร่วมสมัยเพียงจำนวนน้อยที่หลงเหลืออยู่ โดยพงศาวดารฉบับนี้ นอกจากมีความสำคัญในฐานะเอกสารร่วมสมัยแล้ว ยังถือกันว่าบันทึกศักราชไว้ถูกต้องแม่นยำทีสุดอีกด้วย และมักใช้เป็นฉบับสอบเทียบกับฉบับอื่นๆ และเรื่องราวที่บันทึกคำบอกเล่าเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาโดยผู้คนในสมัยอยุธยาคือ คำให้การชาวกรุงเก่า และคำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งล้วนเป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วันที่เผยแพร่ : 27/03/2019
สำนักพิมพ์ :
หมวดหมู่ : ประวัติศาสตร์
จำนวนหน้า : 112 หน้า

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ