ผลจากความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสังคม ทำให้ในช่วงหลายปีมานี้ โรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้น คนสมัยนี้มีแรงกดดันสูง การตกอยู่ในภาวะเครียดและวิตกกังวลเป็นระยะเวลานาน มักนำไปสู่การดื่มกินที่ไม่บันยะบันยัง ไม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล นอกจากการดื่มกินและความเครียด การนอนดึก สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อ้วนเกิน โรคสามสูง (ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง) และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพหลอดเลือด จึงต้องบ่มเพาะการใช้ชีวิตที่ถูกสุขลักษณะเท่านั้น จึงจะห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โรคหัวใจและหลอดเลือดมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้รับมือไม่ทัน เนื่องจากหลอดเลือดไม่มีเส้นประสาท เว้นแต่ว่ามันจะทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายขาดออกซิเจนจึงจะปรากฏอาการ ดังนั้น การจะวินิจฉัยว่าหลอดเลือดในอวัยวะภายในเป็นโรคหรือไม่จึงทำได้ค่อนข้างยาก กอปรกับสถานการณ์โรคและการเสียชีวิตของประชากรด้วยโรคหัวใจของไต้หวันกับไทยนั้นแทบจะอยู่ในระดับเดียวกัน อีกทั้งวัฒนธรรมการกินและใช้ชีวิตก็ใกล้เคียงกัน ดังนั้น คำแนะนำและความรู้จากคุณหมอชาวไต้หวัน จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชาวไทยได้ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ในหนังสือเล่มนี้จึงได้วิเคราะห์สิ่งที่ควรสังเกตและระวัง โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้านอาหารการกิน และด้านการออกกำลังกาย โดยผู้เขียนมีความหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านให้ความสำคัญกับสุขภาพของหลอดเลือด ตระหนักว่าในชีวิตประจำวันมีสิ่งใดบ้างที่เป็น พฤติกรรมไม่ดี ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต และเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้เพื่อการป้องกันก่อนจะเกิดโรค