หน้าหลัก

ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาวิธีการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้เข้าใจในเรื่องใดๆ ได้อย่างบูรณาการ ภายใต้มิติสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดีการคิดเชิงระบบ ถือเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเห็นรูปแบบ และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้เราสามารถเตรียมตัว และรับมือกับสิ่งนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานเรื่องชีวิตส่วนตน สถานะการเงิน ตลอดจนความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้เราสามารถเผชิญกับปัญหาได้ดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับตนเอง และผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามักจะได้ยินผู้รู้ทั้งหลายชี้แนะเวลาเราเผชิญปัญหาที่ยาก และต้องจัดการกับปัญหานั้นว่า ต้องมองปัญหาเชิงระบบ คิดให้เป็นระบบ จึงจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ .... และเมื่อเราศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาจารย์ก็จะบอกให้คิด-เขียน-นำเสนอเป็นระบบ ทั้งในการนำเสนอช่วงที่เรียน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาก็คือ คิดเชิงระบบ (System thinking) นั้นหมายความว่าอะไร เคยถามในชั้นเรียนหลายครั้งว่า แต่ละคนคิดถึงอะไร เวลาพูดถึง ความคิดเชิงระบบ ... หลายคนที่ถูกถามทำหน้าทำตาเหลอหลา คือไม่รู้ว่าจะตอบว่าอย่างไร ... ลองถามต่อ ถ้าเช่นนั้นคำว่า ระบบ หมายความว่าอะไร คราวนี้ก็ได้คำตอบบ้าง เช่น ระบบคือ ....อะไรที่เป็นขั้นเป็นตอน เป็นระเบียบ... ...อะไรที่เป็นเหตุเป็นผลกัน... ...???????.... แต่พอเอาความหมายของ ระบบ ข้างต้นไปบวกกับคำว่าความคิด ก็ทำให้มีปัญหาพอสมควรว่า ตกลงจะหมายความอะไร คิดอย่างเป็นขั้นตอนหรือ คิดอย่างเป็นระเบียบ หรือ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล อันสุดท้ายดูจะเข้าท่ามากที่สุด คือเข้าใจง่าย แต่ใช่ความหมายของความคิดเชิงระบบหรือ หนังสือแปลเล่มนี้ชื่อ หัวใจนักคิด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Art of Systems Thinking เขียนโดย Joseph OCornor และ Ian McDermott ลองอ่านดูจะพบคำตอบหลายประเด็นอาทิเช่น ...ระบบหมายถึง องค์ประกอบหลายๆ ส่วนที่เชื่อมโยงกัน ทำงานร่วมกันหรือประสานกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง... ...ความคิดเชิงระบบจึงหมายถึง การคิดในภาพรวม (big picture) โดยตระหนักชัดในองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์ และมีหน้าที่ที่เชื่อมโยงกัน... ในหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ร่างกายคนเราในฐานะที่เป็นระบบๆ หนึ่ง และเป็นระบบที่มีความซับซ้อนยิ่ง (complex system) คือ ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ มากมาย แต่ทำงานประสานเชื่อมโยงกัน หากส่วนใดมีปัญหา ก็จะสะท้อนออกมาด้วยการทำงานที่ผิดไป หรือมีปัญหาสุขภาวะนั่นเอง ดังนั้น ก่อนนำเสนอหรือเขียนอะไร - อาจเริ่มด้วยการนิ่งๆ สักครู่ - แล้วประมวลคำสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเขียน เช่น งานที่เราทำในชุมชน แล้ว list เขียนเป็นคำสำคัญออกมา มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ - วางคำไว้ทั่วๆ บนหน้ากระดาษ - มองคำต่างๆ แล้วเรียงต่อกัน / ลากเส้นเชื่อมโยงกัน - เติมคำที่เป็นรายละเอียดในแต่ละส่วน - นิ่งอีกสักครู่ แล้วลองเขียนเป็นประโยคหรือวรรคทอง - อาจลองทำเป็นตาราง/ ไดอะแกรม หรือ Mind Map - บรรยายเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ - อ่านสิ่งที่เขียน ใคร่ครวญตาม ปรับเขียนให้แจ่มชัดเหมือนฉายภาพออกมา - ให้คนใกล้ตัวลองอ่าน เสนอแนะ แล้วปรับแก้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้มากขึ้น

วันที่เผยแพร่ : 09/05/2018
สำนักพิมพ์ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท
หมวดหมู่ : 100 หมวดจิตวิทยา / การพัฒนาตนเอง [Knowledge]
จำนวนหน้า : 3171 หน้า
245 - Title statement
020 - International standard book number
100 - Main entry--personal name
250 - Edition statement
260 - Publication, distribution, etc. (imprint)
300 - Physical description
650 - Subject added entry--topical term
520 - Description
082 - dewclass
852 - dewsuffix
050 - Publish Year
350 - Price
400 - Tracing
041 - Language

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ